วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

"Atonov" ที่สุดแห่งเครื่องบิน

จากภาพที่เห็นก็คงไม่ต้องสงสัยถึงความยิ่งใหญ่อลังการของเครื่องบิน Atonov 225 เครื่องบินที่สามารถบรรทุกได้ทุกสิ่งแม้กระทั่งกระสวยอวกาศ

ANTONOV 225 หรือ A 225ออกแบบและสร้างโดย O.K.Antonov ASTC ในปีพ.ศ. 2531 แต่เป็นที่น่าเสียใจ เนื่องจากปีที่ O.K.Antonov สร้างเป็นปีที่ O.K.Antonov ตายนั้นเอง ANTONOV 225เป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ของรัสเซีย(เมื่อก่อนเป็นสหภาพโซเวียต) เคยเป็นเครื่องบินที่ใช้ในสงครามเย็น สามารถบรรจุ รถถัง เครื่องบินไอพ่น และ ด้านบนของเครื่องบนสามารถบรรทุกเครื่องบินอีกลำได้ด้วย เมื่อก่อนใช้บรรทุกกระสวยอวกาศที่มีชื่อว่า Buran มีทางออก 2 ทาง คือ เมื่อนำรถถังเข้าทางท้ายเครื่อง สามารถเปิดหัวเครื่องเพื่อนำรถถังออกทางข้างหน้าได้อีกด้วยอะ และเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย เครื่องบินลำนี้ถูกเก็บอยู่ที่ยูเครนประมาณ 8 ปี จนถึงปี 2001 โครงการนี้ได้นำมาสานต่อ ANTONOV 225 จะต้องบินอีก 8 ครั้งเพื่อที่จะผ่านมาตรฐานเครื่องบิน และต้องเชิญนักบินคนเดิม กลับมาประจำหน้าที่อีกครั้ง หลังจากที่ANTONOV 225 เคยที่ใช้ทำงานในสงคราม แต่ปัจจุบัน เครื่องบินลำนี้เป็นเครื่องบินขนส่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สามารถลงจอดได้ทุกสภาพ ANTONOV 225 มี 6 เครื่องยนต์ ให้แรงมหาศาล ถึง 300,000 ปอนด์ น้ำหนัก 600 ตัน มีล้อ 32 ล้อความเร็ว 750-850 กม./ชั่วโมง น้ำมันเชื้อเพลิง 280 ตัน หรือ 76,000 แกลลอน ถ้าเติมเต็มถัง ซึ่งจะเท่ากับ เติมรถยนต์ทั่วไปได้ 6,000 คัน กำลังบรรทุกมากกว่า 250 ตัน เครื่องบินลำนี้สามารถบรรทุกรถถังได้ถึง 4 คันในเที่ยวเดียว หรือใส่รถยนต์เข้าไปได้ถึง 80 คันเป็นเครื่องบินขนส่งขนาดใหญ่แบบเดียวในโลกที่สมารถขึ้นลงรันเวย์ ที่เป็น ลูกรัง ที่ราบทุ่งหญ้าทรุนดา พื้นหิมะ พื้นนำแข็ง เพราะเครื่องบินลำนี้เคยไปใช้งานที่ขั้วโลกมาแล้ว และที่สำคัญ ขนย้ายเครื่องAir Bus 380 ได้สบายมาก ๆ เห็นแล้วสุดยอด ถูกเปิดตัวครั้งแรกในเชิงพานิชย์ที่Air Paris และเป็นเครื่องบินพานิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก บินครั้งแรก วันที่ 1 ธ.ค.1988 พิสัยการบิน 8,000 ไมล์ หรือเท่ากับ นิวยอร์ค – ฮ่องกง แล้วต้องเติมน้ำมันใหม่อีกครั้ง เพราะมันรับประทานน้ำมันถึง 18 ตัน / ชม. แล้วแต่น้ำหนักบรรทุกด้วย

ประเทศไทยเราก็เคยใช้บริการเครื่องบินลำนี้มาแล้ว โดยใช้ในการขนส่งรถไฟฟ้าใต้ดิน ค่าใช้จ่ายในการขนส่งแต่ละเที่ยวบินจะสูง 50 ล้านบาท การขนส่งรถไฟฟ้าใต้ดินขบวนแรกของไทยดำเนินการทั้งหมด 3 เที่ยวบินเที่ยวบินละ 1 ตู้ เสียค่าใช้จ่ายไปราวๆ 150 ล้านบาทส่วนอีก 18 ขบวน รวม 24 ตู้ที่เหลือจะขนส่งมา "ทางเรือ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น